วันจันทร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

แบบทดสอบการจัดสารสนเทศ


ให้นักเรียนเพิ่มบทความ เรื่อง การจัดการสารสนเทศ ลงในเว็บบล็อก
โดยตอบคำถามต่อไปนี้
  1.   ข้อมูล(data) หมายถึงอะไร

  ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริงของสิ่งที่เราสนใจ ข้อเท็จจริงที่เป็นตัวเลข ข้อความ หรือรายละเอียดซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ภาพ เสียง วีดิโอไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์ สิ่งของ หรือเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ  ข้อมูลเป็นเรื่องเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง  และต้องถูกต้องแม่นยำ ครบถ้วน ขึ้นอยู่กับผู้ดำเนินการที่ให้ความสำคัญของความรวดเร็วของการเก็บข้อมูล ดังนั้นการเก็บข้อมูลจึงเป็นการเก็บรวบรวมเกี่ยวกับข้อเท็จจริงของสิ่งที่เราสนใจนั่นเอง ข้อมูลจึงหมายถึงตัวแทนของข้อเท็จจริง หรือความเป็นไปของสิ่งของที่เราสนใจhttp://www.thaigoodview.com/node/27183


  2.  สารสนเทศ (information) หมายถึงอะไร

ารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ สารสนเทศ เกิดจากการนำข้อมูล ผ่านระบบการประมวลผล คำนวณ วิเคราะห์และแปลความหมายเป็นข้อความ อย่างเป็นระบบตามหลักวิชาการ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้เช่น ระบบสื่อสารผ่านดาวเทียมหรือสัญญาณระบบต่างๆ การสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระบบดาวเทียม การจองตั๋วเครื่องบิน การกดเงินจาก ATM เป็นต้นhttp://non-krittayot.blogspot.com/2008/05/blog-post_30.html

  3.  การประมวลผล (processing) หมายถึงอะไร

   การประมวลผลข้อมูล คือการกระทำการใดๆ กับข้อมูล เพื่อให้ข้อมูลนั้นๆ อยู่ในรูปแบบที่เป็นประโยชน์ หรือตรงตามวัตถุประสงค์ของผู้ใช้งาน


  4.  ข้อมูลมีกี่ประเภท  อะไรบ้าง จงอธิบาย
1   1ข้อมูลเชิงปริมาณ คือ ข้อมูลที่เป็นตัวเลขที่ใช้แสดงปริมาณของสิ่งต่างๆ                                                                                2.ข้อมูลเชิงคุณภาพ คือ ข้อมูลที่ใช้อธิบายลักษณะ สมบัติหรือสถานการณ์ของสิ่งต่างๆ                                                                      3.ข้อมูลปฐมภูมิ คือ ข้อมูลที่ผู้ใช้ต้องเก็บรวบรวมจากผู้ให้ข้อมูลหรือแหล่งที่มาของข้อมูลโดยตรง โดยไม่มีผู้ใดเคยเก็บมาก            4.ข้อมูลทุติยภูมิ คือ ข้อมูลที่ผู้ใช้ไม่ต้องเก็บรวบรวมจากผู้ให้ข้อมูลหรือแหล่งที่มาของข้อมูลโดยตรง ได้จากผู้ที่เก็บรวบรวมไว้แล้ว


  5.  วิธีการประมวลผลข้อมูลโดยเครื่องคอมพิวเตอร์ มีกี่วิธี  อะไรบ้าง  จงอธิบาย
       มี 4 ประเภท


ารประมวลผลแบบรวมศูนย์ (Centralized Computing)
             เป็นระบบที่นำอุปกรณ์ประมวลผล ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์มารวมไว้ในคอมพิวเตอร์เครื่องเดียว ใช้กับองค์กรขนาดใหญ่ซึ่งใช้คอมพิวเตอร์ชนิดเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe Computer)โดยมีผู้ทำหน้าที่ควบคุมการประมวลผลเพียงผู้เดียว ซึ่งเป็นที่ยุ่งยากมาก ต่อมาจึงมีการพัฒนาการประมวลผล โดยแบ่งออกได้เป็น 2 วิธี คือ
jdr
1) การประมวลผลแบบแบทช์ (Batch Processing) เป็นระบบที่ทำงานในลักษณะ เตรียมการประมวลผลในขั้นต่อไป โดยใช้อุปกรณ์ประเภท Input/Output Unit ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้ไม่อยู่ภายใต้การควบคุมของ CPU เช่น เครื่องบันทึกเทป (Key to tape) เครื่องบันทึกจานแม่เหล็ก (Key to disk)บัตรเจาะรู (Punched Card) เป็นอุปกรณ์นำเข้าและอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล มีลักษณะการประมวลผลโดยมีการรวบรวมข้อมูลไว้ช่วงเวลาหนึ่งก่อนที่จะนำข้อมูลมาประมวลผลพร้อมกัน การประมวลผลจะทำเป็นช่วงเวลา เช่น การทำบัญชีเงินเดือนพนักงานทุกสิ้นเดือน ระบบคิดดอกเบี้ยสะสม 3 เดือน 6 เดือน หรือ 1 ปี ของธนาคาร การบันทึกเกรดของนักศึกษาในแต่ละภาคเรียน จนถึงภาคเรียนสุดท้ายจึงพิมพ์ใบรับรองเกรดเฉลี่ย ข้อมูลการใช้โทรศัพท์มือถือภายในช่วงรอบบัญชี (1 เดือน) จะถูกเก็บสะสมจนสิ้นสุดรอบบัญชี การประมวลผลแบบนี้จะไม่มีการโต้ตอบระหว่างผู้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าระบบออฟไลน์ (Off-ling System) มีข้อดี คือ ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการใช้อุปกรณ์ ข้อเสีย คือ ข้อมูลจะไม่ทันสมัย
2) การประมวลผลแบบออนไลน์ (On-line Processing) เป็นวิธีที่ผู้ใช้สามารถใช้งาน พร้อมกันได้หลายคน (Multi-user) จะประมวลผลทันทีเมื่อรับข้อมูลเข้ามา โดยไม่ต้องรอรวมข้อมูลหรือสะสมข้อมูลไว้ก่อน โดยมีการเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่อยู่ในสถานที่อื่น มีความสามารถในการทำงานบางอย่างได้ เช่น เครื่องเอทีเอ็ม เครื่องตัดยอดของสินค้าทุกครั้งเมื่อมีการสั่งซื้อ เป็นต้น ข้อดี คือ ทำให้ได้ข้อมูลที่ทันสมัยเป็นปัจจุบันตลอดเวลา ข้อเสีย คือ หากมีข้อมูลมาก การประมวลผลจะช้าลง เนื่องจากมีเพียงเครื่องแม่ข่ายเท่านั้นที่ทำการประมวลผล

                    
                   
            การประมวลผลแบบกระจาย (Distributed Computing)
เมื่อมีการใช้งานคอมพิวเตอร์ในองค์กรที่มีขนาดใหญ่ขึ้น อาจมีการขยายสาขาออกไป ทำให้มีระบบการทำงานที่มีขนาดใหญ่ จึงมีการนำการประมวลผลแบบกระจายจากศูนย์กลางมาใช้ เพื่อชดเชยข้อจำกัดของการประมวลแบบรวมศูนย์ที่ค่อนข้างล่าช้า ส่งผลให้สามารถจัดสรรทรัพยากร เพื่อกระจายและแจกจ่ายการใช้งานข้อมูลต่าง ๆ ร่วมกันได้ทั่วทั้งองค์กรและรวดเร็วมากขึ้น และระหว่างหน่วยงานย่อยขององค์กรด้วย เช่น ฐานข้อมูล ข่าวสาร เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ เครื่องโทรสาร และเครื่องสแกนเนอร์ เป็นต้น
gwf


  6.  สารสนเทศที่ดีมีลักษณะอย่างไร

1. สสารสนเทศที่ดีต้องมีความความถูกต้อง (Accurate) และไม่มีความผิดพลาด
2. ผู้ที่มีสิทธิใช้สารสนเทศสามารถเข้าถึง (Accessible) สารสนเทศได้ง่าย ในรูปแบบ และเวลาที่เหมาะสม ตาม
ความต้องการของผู้ใช้
3. สารสนเทศต้องมีความชัดเจน (Clarity) ไม่คลุมเครือ
4. สารสนเทศที่ดีต้องมีความสมบูรณ์ (Complete) บรรจุไปด้วยข้อเท็จจริงที่มีสำคัญครบถ้วน
5. สารสนเทศต้องมีความกะทัดรัด (Conciseness) หรือรัดกุม เหมาะสมกับผู้ใช้
6. กระบวนการผลิตสารสนเทศต้องมีความประหยัด (Economical) ผู้ที่มีหน้าที่ตัดสินใจมักจะต้องสร้างดุลยภาพ
ระหว่างคุณค่าของสารสนเทศกับราคาที่ใช้ในการผลิต
7. ต้องมีความยึดหยุ่น (Flexible) สามารถในไปใช้ในหลาย ๆ เป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์
8. สารสนเทศที่ดีต้องมีรูปแบบการนำเสนอ (Presentation) ที่เหมาะสมกับผู้ใช้ หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง
9. สารสนเทศที่ดีต้องตรงกับความต้องการ (Relevant/Precision) ของผู้ที่ทำการตัดสินใจ
10. สารสนเทศที่ดีต้องมีความน่าเชื่อถือ (Reliable) เช่น เป็นสารสนเทศที่ได้มาจากกรรมวิธีรวบรวมที่น่าเชื่อ ถือ หรือแหล่ง (Source) ที่น่าเชื่อถือ เป็นต้น
11. สารสนเทศที่ดีควรมีความปลอดภัย (Secure) ในการเข้าถึงของผู้ไม่มีสิทธิใช้สารสนเทศ
12. สารสนเทศที่ดีควรง่าย (Simple) ไม่สลับซับซ้อน มีรายละเอียดที่เหมาะสม (ไม่มากเกินความจำเป็น)
13. สารสนเทศที่ดีต้องมีความแตกต่าง หรือประหลาด (Surprise) จากข้อมูลชนิดอื่น ๆ
14. สารสนเทศที่ดีต้องทันเวลา (Just in Time : JIT) หรือทันต่อความต้องการ (Timely) ของผู้ใช้ หรือสามารถส่ง
ถึงผู้รับได้ในเวลาที่ผู้ใช้ต้องการ
15. สารสนเทศที่ดีต้องเป็นปัจจุบัน (Up to Date) หรือมีความทันสมัย ใหม่อยู่เสมอ มิเช่นนั้นจะไม่ทันต่อการ
เปลี่ยนแปลงที่ดำเนินไปอย่างรวดเร็ว
16. สารสนเทศที่ดีต้องสามารถพิสูจน์ได้ (Verifiable) หรือตรวจสอบจากหลาย ๆ แหล่ง ได้ว่ามีความถูกต้อง

  7.  ขั้นตอนของการจัดการสารสนเทศ มีอะไรบ้าง จงอธิบาย
ขั้นตอนในการพัฒนาระบบสารสนเทศ มีดังนี้
 1. ขั้นการสำรวจ (Survey)
     เป็นงานขั้นแรกที่กระทำ โดยนักวิเคราะห์จะสอบถามผู้บริหาร ซึ่งเป็นผู้ใช้งาน MIS ถึงความต้อง
     การต่างๆ ปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อจะได้เสนอแนะวิธีที่เป็นไปได้ในการแก้ปัญหา บางครั้งเรียกว่า การ
     ศึกษาความเป็นไปได้ "Feasibility Study"
 2. การวิเคราะห์โครงสร้าง (Structured Analysis)
     เป็นขั้นตอนที่นำผลการศึกษาถึงความเป็นไปได้ รวมทั้งการสอบถามเพิ่มเติมจากผู้ใช้  MIS  
     เพื่อนำมาประเมินเกี่ยวกับงบประมาณและระยะเวลาในการออกแบบและใช้งาน MIS เอกสาร
     จากการวิเคราะห์โครงสร้างมักอยู่ในรูปของกราฟ หรือ รูปภาพแสดงขั้นตอนต่างๆ
 3. การออกแบบโครงสร้าง (Structured Design)
     เป็นการพิจารณาจำนวนโปรแกรมที่จะใช้ภายในระบบ แต่ละโปรแกรมจะทำงานเป็นอิสระอยู่ใน
     ลักษณะโมดูลโปรแกรม (Program Module)
 4. การศึกษาถึงฮาร์ดแวร์ (Hardware Study)
     การศึกษาถึงฮาร์ดแวร์ที่จะใช้ในระบบ MIS เป็นงานสองขั้นตอนที่สามารถดำเนินไปพร้อมๆ กัน
 5. ขั้นตอนการจัดเตรียมอุปกรณ์และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Implementation)
     เป็นขั้นตอนที่เปลี่ยนการทำงานจากระบบเดิมไปสู่ระบบใหม่ ถือว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุด ซึ่งมี
     ผู้บริหารงานจะต้องวิเคราะห์ความเหมาะสมว่าจะเปลี่ยนแปลงโดยวิธีใด
 6. ขั้นเปลี่ยนไปใช้คอมพิวเตอร์ (Conversion)
     เมื่อผ่านขั้นตอนการจัดเตรียมอุปกรณ์และโปรแกรมคอมพิวเตอร์แล้ว นำข้อมูลหรือโปรแกรม
     ต่างๆ ลงเครื่องคอมพิวเตอร์  ซึ่งจะนำไปใช้งานต่อไป
 7. การศึกษาปัญหาหลังการใช้ MIS และการบำรุงรักษา (Post Implementation and 
     Maintenance)
      เป็นขั้นตอนการประเมินผลการใช้งานระบบใหม่ โดยนำไปเปรียบเทียบกับผลที่ได้จากการวิเคราะห์และการ
      สำรวจ ว่ามีความแตกต่างกันมากน้อยเพียงใด แล้วทำการปรับระบบหรือเปลี่ยนระบบให้เหมาะสม


http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type2/tech03/06/__9.html

  8.  ระบบสารสนเทศ (Information System : IS) หมายถึงอะไร


      ระบบสารสนเทศ หมายถึง ชุดขององค์ประกอบที่ทำหน้าที่รวบรวม  ประมวลผล จัดเก็บ และแจกจ่ายสารสนเทศ เพื่อช่วยการตัดสินใจ และการควบคุมในองค์กร  ในการทำงานของระบบสารสนเทศประกอบไปด้วยกิจกรรม 3 อย่าง คือ การนำข้อมูลเข้าสู่ระบบ (Input)  การประมวลผล (Processing)  และ การนำเสนอผลลัพธ์ (Output)  ระบบสารสนเทศอาจจะมีการสะท้อนกลับ(Feedback) เพื่อการประเมินและปรับปรุงข้อมูลนำเข้า  ระบบสารสนhttp://beerpiyawat.blog.com/2010/06/19
เทศอาจจะเป็นระบบที่ประมวลด้วยมือ(Manual) หรือระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ก็ได้ (Computer-based information system –CBIS) (Laudon & Laudon, 2001) 
แต่อย่างไรก็ตามในปัจจุบันเมื่อกล่าวถึงระบบสารสนเทศ มักจะหมายถึงระบบที่ต้องอาศัยคอมพิวเตอร์และระบบโทรคมนาคม


           
  9.  องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ 5 องค์ประกอบได้แก่อะไรบ้าง  จงอธิบาย



องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ    
มี 5 องค์ประกอบ  ได้แก่  ฮาร์ดแวร์   ซอฟต์แวร์   ข้อมูล บุคลากร  และขั้นตอนการปฏิบัติงาน
       ฮาร์ดแวร์เป็นองค์ประกอบสำคัญ หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์รอบข้าง
       ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นชุดคำสั่งที่สั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงาน
       ข้อมูล เป็นส่วนที่จะนำไปจัดเก็บในเครื่องคอมพิวเตอร์
       บุคลากรเป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานคอมพิวเตอร์
       ขั้นตอนการปฏิบัติงาน เป็นสิ่งที่จะต้องเข้าใจเพื่อให้ทำงานได้ถูกต้องเป็นระบบ 

  10.                   สารสนเทศ มีกี่ระดับ  อะไรบ้าง  จงอธิบาย

ส      สารสนเทศมี 3 ระดับ ดังนี้
1. ระดับบน เป็นสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูงขององค์การที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับกับแผน นโยบาย พันธกิจ เป้าประสงค์ เป้าหมาย
และกลยุทธ์ขององค์การ
2. ระดับกลาง เป็นสารสนเทศสำหรับผู้จัดการ หรือผู้บริหารระดับกลางขององค์การที่มีการแปลงกลยุทธ์ ที่จะนำ ไปสู่การบรรลุเป้าหมายของ
องค์การ โดยแปลงกลยุทธ์ออกมาเป็นแนวปฏิบัติ หรือแผนปฏิบัติงาน หรือกิจกรรมต่างๆ
3. ระดับล่าง เป็นสารสนเทศของผู้ปฏิบัติงานที่มีกรรมวิธีการดำเนินงาน